วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตัวอย่างหัวบล็อก งานความรู้







หน่วยส่งออก หรือ หน่วยแสดงผล (Out Put Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล ของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU.)ให้ผู้ใช้ได้รับทราบ ด้วยวิธีการแปลงข้อมูลดิจิตอลที่ได้จากการประมวลผลเป็นข้อมูลที่ต้องการแสดงออก ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ  โดยอุปกรณ์ที่จัดเป็นหน่วยแสดงผลข้อมูล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
การแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)
2. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)

1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)  หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่ การรับชม หรือดูข้อมูลจากจอคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ (Projector) หรือ ได้รับฟังเสียงเพลง เสียงบรรยายจากลำโพง เป็นต้น
1.1 จอภาพ (Monitor)
ภาพที่ 1.95 จอภาพจากจอคอมพิวเตอร์ เครื่อง GPS นำทาง และแท็บเล็ต

            จอภาพ หรือ วีดียู (Visual Display Unit: VDU) หรือชื่ออื่นเช่น จอคอมพิวเตอร์ หน้าจอ จอคอม จอมอนิเตอร์ มอนิเตอร์ จอแสดงผล จอภาพแสดงผล จอภาพแสดงผลคอมพิวเตอร์ จอทีวี จอโทรทัศน์ ฯลฯ คือส่วนหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แสดงรูปภาพให้เห็นจากอุปกรณ์ที่สามารถส่งออกวิดีโอ เช่นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ซึ่งรูปภาพที่ปรากฏสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้และไม่คงอยู่อย่างถาวร จอภาพประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ที่แสดงผลให้เห็น และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในที่สร้างรูปภาพจากสัญญาณวิดีโอ อุปกรณ์ที่แสดงผลยุคใหม่จะเป็นจอภาพผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง (thin film transistor liquid crystal display: TFT-LCD) และจอภาพยุคก่อนเป็นหลอดภาพรังสีแคโทด (cathode ray tube: CRT)

ขนาดของจอภาพ
ขนาดของจอภาพจะวัดจากมุมหนึ่งของจอ ไปยังอีกมุมหนึ่งในแนวทแยงที่อยู่ตรงข้ามกัน

ภาพที่ 1.96 แนวการวัดนาดจอภาพ
           แต่ปัญหาหนึ่งของการวัดแบบน ี้คือไม่สามารถแยกแยะได้ว่าจอภาพจะมีอัตราส่วนลักษณะ (Aspect ratio) เท่าใด แม้ว่าจะมีขนาดทแยงมุมเท่ากัน เนื่องด้วยข้อเท็จจริงที่ว่ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะมีพื้นที่น้อยกว่ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเมื่อกำหนดให้เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน ตัวอย่างเช่น จอภาพ 21 นิ้วในอัตราส่วน 4:3 มีพื้นที่ประมาณ 211 ตารางนิ้ว ในขณะที่จอภาพไวด์สกรีน 21 นิ้วในอัตราส่วน 16:9 จะมีพื้นที่แสดงผลเพียง 188 ตารางนิ้วเท่านั้น
        การทำงานของจอภาพ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
        ปัจจุบันกระแสจอแบน ได้เข้ามาแซงจอธรรมดา โดยเฉพาะประเด็นขนาดรูปทรง ที่โดดเด่น ประหยัดพื้นที่ในการวาง รวมทั้งจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน โดยจอภาพขนาด 15 - 17 นิ้ว ใช้พลังงานเพียง 20 - 30 วัตต์ และจะลดลงเหลือ 5 วัตต์ในโหมด Standby ในขณะที่จอธรรมดา ใช้พลังงานถึง 80 - 100 วัตต์
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอภาพ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
  1. จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor) 
    จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว
  2. จอภาพหลายสี (Color Monitor) 
    จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี
  3. จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display) 
    จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น
    1. Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
    2. Passive matrix color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
  4. จอภาพแอลอีดี LED (ไดโอดเปล่งแสง) ย่อมาจาก Light-emitting-diodสามารถเปล่งแสงออกมาได้แสงที่เปล่งออกมาประกอบด้วยคลื่นความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างกับแสงธรรมดาที่ตาคนมองเห็น โดยหลอด LED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างก็ยังดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กทั่วๆ ไป.
    LED โดยทั่วไปมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1) LED ชนิดที่ตาคนเห็นได้ กับ 2) ชนิดที่ตาคนมองไม่เห็นต้องใช้ทรานซิสเตอร์มาเป็นตัวรับแสงแทนตาคน
    ปัจจุบันจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เทคโนโลยีของ LED ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วตามไปด้วย. LED ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านสีของแสงที่เปล่งออกมา ไม่ว่าจะเป็นสีแดง ,สีเขียว ,สีส้ม หรือที่ผลิตได้ท้ายสุด และทำให้วงการแอลอีดีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วคือสีน้ำเงิน ซึ่งการเกิดขึ้นของแอลอีดีสีน้ำเงินนี้ ทำให้ครบแม่สี 3 สี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน และเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของจอแอลอีดี และแอลอีดีในงานไฟประดับต่างๆ, ทั้งยังใช้ประโยชน์แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในเครื่องคิดเลข สัญญาณจราจร ไฟท้ายรถยนต์ ป้ายสัญญาณต่างๆ ไฟฉาย ไฟให้สัญญาณของประภาคาร จอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น หน้าจอ LCD ของโทรศัพท์มือถือที่เราใช้กันทั่วไป เกือบทั้งหมดจะให้แสงสว่างด้วย LED

  1. ข้อดีของแอลอีดี
    • ประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างดีกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วๆไป.
    • ตัวหลอด LED เองเมื่อทำให้เกิดแสงขึ้นจะกินกระแสน้อยมากประมาณ 1-20mA
    • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ประมาณ 50,000 – 100,000 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแอลอีดี วงจรขับกระแส สภาพภูมิอากาศ ความชื้น และอุณหภูมิ ซึ่งก็มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดที่ให้แสงสว่างชนิดอื่นๆมาก
    • ไม่มีรังสีอินฟาเรต รังสีอัลตราไวโอเรต ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนัง
    • ทนทานต่อสภาวะอากาศ
    • ทนทานต่อการสั่นสะเทือน
    • มีหลากหลายสีให้เลือกใช้

  1. จอ 3D (3 Dimension)
    ระบบแสดงผลภาพ 3D แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1.Active: จอโทรทัศน์จะส่งภาพของตาซ้ายและขวาสลับกันไป โดยแว่นจะต้องซิงก์โครไนซ์สัญญาณให้ตรงกับโทรทัศน์ คือ จะปิดตาซ้าย (มืด) เมื่อโทรทัศน์ฉายภาพสำหรับตาขวา และปิดตาขวา เมื่อโทรทัศน์ฉายภาพสำหรับตาซ้าย ซึ่งแว่นจะสลับมืด-สว่างทีละข้างอย่างรวดเร็ว ปัญหาคือบางทีการซิงก์โครไนซ์อาจมีจังหวะที่ไม่ตรงกับโทรทัศน์ และอาจปวดตาเพราะเรามองภาพมืด-สว่างสลับไปมาอย่างรวดเร็วตลอดเวลา

2. Passive: ใช้หลักการ Polarized กล่าวคือ คลื่นที่ระนาบ Polarize เดียวกันจะผ่านเข้ามาได้หมด แต่ถ้าตั้งฉากกันก็จะผ่านเข้ามาไม่ได้ โทรทัศน์จะส่งภาพ Polarized ที่ตั้งฉากกันสำหรับตาซ้ายและขวาออกมาพร้อมกันโดยสลับแถวกัน
จากนั้นจะแยกภาพนี้ออกจากกันโดยแว่น Polarized ซึ่งเมื่อตาซ้ายและขวาตั้งฉากกัน ภาพเส้นเลขคู่ก็จะเข้าตาซ้ายอย่างเดียว ส่วนเส้นคี่จะเข้าตาขวาอย่างเดียว ข้อดีก็คือไม่กระพริบ ไม่ปวดตา แต่ข้อเสียคือภาพที่เห็นความละเอียดจะลดลง เพราะเราเห็นภาพแค่ครึ่งหนึ่งของความละเอียดจอเท่านั้น
1.2 เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ (Projector) เป็นเครื่องฉายภาพจากสัญญานวิดีโอ ผ่านระบบเลนส์ไปยังฉากรับภาพ โดยใช้ไฟที่สว่างและจ้าในการฉายภาพ โดยเครื่องโปรเจกต์เตอร์รุ่นใหม่ สามารถแก้ไข ส่วนโค้งเว้า ความคมชัด ส่วนประกอบของภาพ และ อื่นๆ ด้วยการปรับโดยผู้ใช้เอง วิดีโอโปรเจกต์เตอร์ ถุกใช้อย่างกว้างขวางในการนำเสนองานในห้องประชุม ห้องเรียน หรือ แม้แต่ ใช้เป็น โฮมเทียเตอร์ โปรเจกต์เตอร์ จึงกลายเป็นที่นิยมและถูกใช้อย่างกว้างขวาง

เครื่องโปรเจกต์เตอร์ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ใช้ 3 ชนิด คือ
1. เครื่องฉายภาพแบบซีอาร์ที
โปรเจกต์เตอร์ชนิด CRT (CRT projecter) ใช้ หลอดลำแสงแคโธด จะมีสามหลอดสี คือ สีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดง โดยหลอดสีทั้งสามสามารถเลื่อนเพื่อปรับองศาของภาพให้ถูกต้องได้ โปรเจกต์เตอร์ชนิดนี้เป็นชนิดที่เก่าแก่ที่สุด ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามาก แต่ดูไม่สวยงามเพราะเครื่องฉายมีขนาดใหญ่ แต่มีข้อดีคือสามารถฉายภาพให้เป็นภาพขนาดใหญ่ในราคาที่ถูกกว่า
ภาพที่ 1.97 เครื่องฉายภาพแบบซีอาร์ท

2. โปรเจกต์เตอร์ชนิดฉายแสงผ่านแผ่นแอลซีดี (LCD projector) เป็นโปรเจกต์เตอร์ที่มีระบบกลไกข้างในที่ไม่ซับซ้อน ทำให้เป็นโปรเจกต์เตอร์ที่ถูกใช้อย่างกว้างขวาง เพราะราคาถูก โปรเจกต์เตอร์ชนิดนี้มีปัญหาด้านการมองเรียกว่า screen door effect หรือ pixilation effect ซึ่งเราจะมองเห็นภาพเป็น จุด เป็นเหลี่ยมขนาดเล็ก และหลอดไฟมีราคาสูง
การฉายภาพบนโปรเจกต์เตอร์ชนิดแอลซีดี ใช้หลอดไฟชนิดเมทัลฮาไลด์ ส่งแสงไปยังปริซึมเพื่อกระจายแสงไปยังแผงซิลิคอนสามสี คือ แดง เขียว น้ำเงิน เพื่อส่งภาพเป็นสัญญาณวิดีโอ เมื่อแสงผ่านแผงซิลิคอนนี้แล้ว แต่ละพิกเซลจะเปิดออกหรือปิดลง เพื่อให้ภาพ ทั้งระดับสีและการไล่สีตามที่ต้องการ สาเหตุที่เราใช้ หลอดเมทัลฮาไลด์เพราะสามารถให้อุณหภูมิของสีและระดับสีที่ถูกต้องที่สุด ทั้งยังสามารถให้ความสว่างของแสงสูงในพื้นที่ที่มีขนาดเล็กได้ โปรเจกต์เตอร์แอลซีดีรุ่นปัจจุบัน จะมีความสว่างประมาณ 2000-4000 ลูเมน
ภาพที่ 1.98 โปรเจกต์เตอร์ชนิดฉายแสงผ่านแผ่นแอลซีดี (LCD projector)

3. โปรเจกต์เตอร์ชนิด DLP (DLP projector) ใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า Digital Light Processor ของ Texas Instrument มีตัวกำเนิดแสงที่เล็กมากเรียกว่า Digital Micromirror Device (DMDs) โปรเจกต์เตอร์ชนิดนี้ทำงานโดยปรกติจะใช้ DMD 2 ตัวจะใช้จานหมุนติดกระจกเพื่อสร้างสี
ปัญหาของโปรเจกต์เตอร์ชนิดนี้คือ Rainbow effect คือผู้ที่ดูภาพที่ฉายไปสีขาว เป็นสีรุ้ง แต่สามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้ระบบใหม่ซึ่งใช้ DMD 3 ตัว ความเร็วในการหมุนของจานหมุนติดกระจกที่สูงขึ้น และสามารถให้สีหลักได้อย่างถูกต้อง
ภาพที่ 1.99 โปรเจกต์เตอร์ชนิด DLP (DLP projector)


เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์แบบพกพา (Mini - Projector) 
     
      1. AV Mini Projector เป็นมินิโปรเจคเตอร์ ที่ออกแบบมาเพื่องานบันเทิงโดยเฉพาะ มีขนาดเล็กกระทัดรัด รองรับ AV , VGA และ SD Card ซึ่งสามารถดูหนัง ฟังเพลง รวมถึงเล่นเกมส์ได้อีกด้วย เพื่อความบันเทิงที่มากยิ่งขึ้นเราออกแบบให้ตัวเครื่องเป็น มินิโปรเจคเตอร์ที่รองรับ VGA USB และ SD การ์ด เพื่อรองรับความบันเทิงทั้งหนัง หรือเพลง MP3/MP4 รวมถึงการ Present งาน ข้อมูลอีกอย่างที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องรู้คือขนาดของภาพจะอยู่ประมาณ 45-75 นิ้ว และสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
ภาพที่ 1.100 AV Mini Projector
         2. Mobile Mini Projector ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน เครื่องเล่นมีเดีย สามารถใช้ฉายภาพที่ความสว่าง 20 ลูเมนส์ได้นาน 2 ชั่วโมงต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถแสดงผลที่ความละเอียด nHD (640 x 360 พิกเซล) ลำโพงขนาด 0.5 วัตต์ในตัว ฉายภาพได้ใหญ่สุด 1.27 เมตร (ตามแนวเส้นทะแยงมุม)
ภาพที่ 1.11 การใช้งาน Mini-Projector
ภาพที่ 1.102 มุมมองขนาดของ Mini-Projector
ภาพที่ 1.103 Mini-Projector
1.3 ลำโพง (Speaker)
ภาพที่ 1.104 ลำโพงชนิดต่างๆ
ลำโพง ( Loudspeaker, Speaker) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง มีด้วยกันหลายแบบ คำว่า ลำโพงมักจะเรียกรวมกัน ทั้งดอกลำโพง หรือตัวขับ (driver) และลำโพงทั้งตู้ (speaker system) ที่ประกอบด้วยลำโพงและวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก)
ลำโพงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบเครื่องเสียง โดยมีขนาดตั้งแต่เล็กเท่าปลายนิ้ว จนถึงใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางนับสิบนิ้ว โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน
ประเภทของลำโพง
1.ทวีทเตอร์ คือลำโพงที่มีขนาดเล็กสุดของตู้ลำโพงออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง
2.มิดเรนจ์ คือลำโพงขนาดกลางของตู้ลำโพงถูกออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่เป็นกลางๆ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำมากเกินไป
3. วูฟเฟอร์ คือลำโพงที่มีขนาดใหญ่สุดของตู้ลำโพงออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ
4. ซับวูฟเฟอร์ คือลำโพงที่ทำหน้าที่ขับความถี่เสียงต่ำสุด มักมีตู้แยกต่างหาก และใช้วงจรขยายสัญญาณในตัว
ลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์
      ลำโพงคอมพิวเตอร์ หรือ ลำโพงมัลติมีเดีย เป็นลำโพงภายนอก ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านช่องเสียบซึ่งต่อจากการ์ดเสียงภายในเครื่อง โดยอาจต่อเข้ากับแจ็คสเตอริโอธรรมดา หรือขั้วต่ออาร์ซีเอ (RCA connector) และยังมีจุดเชื่อมต่อยูเอสบี สำหรับใช้ในปัจจุบัน โดยมีแรงดันไฟจ่าย 5 โวลต์ ลำโพงคอมพิวเตอร์มักจะมีขุดขยายเสียงขนาดเล็ก และชุดแหล่งจ่ายไฟต่างหาก
       ปัจจุบันลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ขนาด และราคา ปกติจะมีขนาดเล็ก ให้มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีการผลิตลำโพงคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน สามารถปรับแต่งเสียงทุ้มแหลม หรือคุณลักษณะอื่นๆ ได้
ภาพที่ 1.105 ชุดลำโพงคอมพิวเตอร์

ภาพที่ 1.106 ช่องเสียบสายสัญญาณจากลำโพงเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
2. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช ้เช่น การพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์
2.1 เครื่องพิมพ์ (Printer)
1. เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีหัวยิงเป็นเข็มขนาดเล็ก พุ่งไปชนแผ่นผ้าหมึก เพื่อให้หมึกติดบนกระดาษเป็นจุดเล็กๆ หลายๆ จุดเรียงกันเป็นตัวหนังสือหรือรูปภาพ หัวเข็มที่ใช้ยิงไปยังผ้าหมึกมีจำนวนหลายหัว โดยปกติใช้ขนาด 24 หัวเข็ม ซึ่งจัดวางเรียงกันในแนวตั้ง ทำให้ได้ตัวหนังสือที่ละเอียดพอควร
ภาพที่ 1.107 เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer)
2.  เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้ความคมชัดและความละเอียดสูง การพิมพ์จะใช้หลักการทางแสง ปกติมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 600 จุดต่อนิ้ว เครื่องพิมพ์เลเซอร์จึงเป็นเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพ พัฒนาการทางเทคโนโลยีทำให้เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้น เพราะเมื่อเทียบประสิทธิภาพต่อราคาแล้วเครื่องพิมพ์ชนิดนี้เหมาะที่จะใช้ในสำนักงาน แต่ไม่สามารถพิมพ์สำเนากระดาษคาร์บอนได้
ภาพที่ 1.108 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer)
3.  เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการพ่นหมึกและผสมสีจากแม่สีสามสีคือแดง เหลืองและน้ำเงิน โดยจะผสมสีให้ได้สีตามความต้องการและพ่นหมึกเพื่อให้ติดบนกระดาษ ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากสามารถพิมพ์รูปภาพออกมาเป็นสีที่สวยงาม
 
ภาพที่ 1.109 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printer)
4.  เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (line printer) เครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีความเร็วในการพิมพ์สูงมาก สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยบรรทัดต่อนาที กล่าวคือ มีความเร็วในการพิมพ์ได้ถึง 2000 บรรทัดต่อนาที ลักษณะการพิมพ์มีหลายแบบ บางแบบใช้พิมพ์ด้วยแถบโซ่ตัวอักษรที่หมุนอยู่ และมีคันเคาะตัวอักษรในตำแหน่งที่กำหนด บางแบบใช้หัวยิงแบบจุด แต่มีจำนวนหัวยิงเป็นจำนวนมากเพื่อให้พิมพ์ได้เร็ว เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จึงเหมาะกับศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ต้องพิมพ์รายงานเป็นจำนวนมาก และพิมพ์อย่างต่อเนื่อง
ภาพที่ 1.110 เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (line printer)
บทสรุป
     การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นกระบวนการทำงานที่ดำเนินการอย่างมีระบบ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันใทุกขั้นตอน ประกอบด้วย หน่วยรับข้อมูลหรือหน่วยรับเข้า(Input Unit) ประกอบด้วย อุปกรณ์รับเข้า เช่น แป้นพิมพ์ , เครื่องสแกนเนอร์ หรือ ไมโครโฟน , หน่วยประมวลผลกลาง (Cenrol Processing Unit) ประกอบด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit) และหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmatic and Logical Unit), หน่วยความจำ (Memory Unit) ซึ่งประกอบด้วย หน่วยความจำหลัก (Primary Memory unit) และ หน่วยความจำรอง (Secodary Memory unit) ประกอบด้วย อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และหน่วยแสดงผลหรือหน่วยส่งออก (Output Unit) ประกอบด้วยอุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ , เครื่องพิมพ์ หรือลำโพง

ที่มา : http://www.radompon.com

ตัวอย่างหัวบล็อก My Profile